โดย…ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน
สิงหาคม 2564
การวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนยุคโควิค-19
การวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเน้นเทคนิควิธีที่ทำให้รู้ว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่เกิดการเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง และเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงไร
การวัดผล-ประเมินผลในปัจจุบันให้ความสำคัญกับครู จึงเรียกเทคนิคนี้ว่า “Assessment” แทนคำว่า Measurement (การวัด) และ Evaluation (การประเมิน)
เมื่อครูคือบุคคลสำคัญในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ครูจึงต้องรู้ว่าการวัดผล-ประเมินผลมีหลายวิธี (มี 50 วิธี) และครูต้องเลือกเทคนิคที่สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนการสอนกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ดังเสนอเป็นวงจรไม่รู้จบเชื่อมโยงกัน
ถ้าครูต้องการให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น ครูต้องเลือกกระบวนการเรียนรู้และวิธีวัดผล-ประเมินผลที่สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว
O | L | A |
---|---|---|
ต้องการให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น | 1. ครูระบุปัญหาที่เหมาะสมกับวัย 2. ให้นักเรียนระดมสมอง หาวิธี แก้ไขหลากหลายวิธี 3. ครูเสนอแนวทางตรวจสอบว่าวิธีแก้ปัญหาใดเหมาะสม 4. ครูระบุปัญหาใหม่ให้นักเรียน แบ่งกลุ่มหาวิธีแก้ไขและนำเสนอ 5. สรุปว่าวิธีใดแก้ไขได้ดีกว่า 6. ครูให้คะแนนเต็ม 10 คะแนน ว่ากลุ่มของตัวเองได้กี่คะแนน เพราะอะไร | พิจารณาจากวิธีแก้ของนักเรียนว่ามีกี่วิธี พิจารณาจากผลงานกลุ่ม พิจารณาจากคะแนนที่กลุ่มระบุพร้อมเหตุผล |
2. วิธีวัด-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
มี 50 เทคนิค (อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือของ อ.อุทุมพร จามรมาน) แต่ที่ใช้กันมากมี 10 วิธี ซึ่งครอบคลุมพัฒนาการ 5 ด้าน ของนักเรียน (ร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาและทักษะ) สรุปเครื่องมือวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน มีดังนี้
- แบบทดสอบวัดความสามารถทางสมอง
- มาตร (Scale) วัดลักษณะทางจิตวิทยา
- แบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
- แบบตรวจสอบรายการหรือขั้นตอน
- แบบประเมินคุณภาพ (ผลงาน)
- แบบสอบถามความคิดเห็นในเรื่องเพื่อน
- แบบสัมภาษณ์ ความรู้ ความคิด ความรู้สึก
- แบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ประวัติ
- เครื่องชั่งนำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง
- เครื่องมือทางแพทย์ วัดร่างกาย
เทคนิคการวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่ใช้โดยทั่วไปสรุปในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 เทคนิคการวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
Assessment Techniques | วัด-ประเมินอะไร |
---|---|
1. การสอบ (Testing) 1.1 เครื่องมือเรียกแบบทดสอบ 1.2 แบบทดสอบมี 2 ประเภท คือแบบเป็นปรนัย (เลือกตอบจับคู่ผิด-ถูก) และแบบเป็นอัตนัย (เติมคำเขียนวลี) 1.3 การจัดสอบทำได้หลากหลาย สอบแบบปิด หนังสือ เปีดหนังสือ สอบในห้อง ที่บ้าน สอบเดียว สอบกลุ่ม 1.4 แบบทดสอบมีทั้งที่ใช้ตัวอักษร รูปภาพสัญลักษณ์ 1.5 คะแนนสอบมีผิด-ถูก | วัด Cognitive หรือความสามารถทางสมอง(ความรู้ ความคิด) ความรู้คือความจำ ความเข้มใจ การนำความรู้ไปใช้ ความคิดมีหลายประเภท เช่น คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ |
2. การวัดลักษณะคน 2.1 เครื่องมือเรียก มาตร (Scale) 2.2 วัด 2 ระดับ คือความรู้สึกในใจกับพฤติกรรมที่แสดง 2.3 แบบวัดลักษณะทางจิตวิทยา เช่น Rating Scale Ranking Self Report 2.4 คะแนนไม่มีผิด-ถูก | วัด Psychological หรือวัดสิ่งที่อยู่ในใจกับพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น บุคลิกภาพ จริยธรรม คุณธรรม ความดี |
3. การวัดผลงานภาคปฏิบัติ 3.1 ตัวอย่าง เช่น ผลการทำกิจกรรม โครงงาน 3.2 เครื่องมือวัดมี 3 อย่าง (1) วัดความรู้ในงานคือแบบทดสอบ (2) เช็ดขั้นตอนว่าครบคือ แบบ Check List แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ (3) ประเมินคุณภาพผลงานคือ แบบประเมิน และแบบสอบถามความคิดเห็น 3.3 นำคะแนนทั้ง 3 ส่วนมาพิจารณา | วัด Psycho-motor หรือ Practical Performance หรือทักษะ |
3. ข้อเสนอแนะในการวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนยุคโควิค-19
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนยุคโควิค-19 ทั้ง 5 รูปแบบ หากแต่ยังขาดประเด็นวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการวัดผล-ประเมินผล ในบทความนี้จะเสนอแนะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่อิงวัตถุประสงค์และเทคนิคการวัดผล-ประเมินผลที่เป็นระบบ OLA
ในยุคปรกติ ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้ครบ 20 สัปดาห์ต่อภาคเรียนและ 200 วันเรียนต่อปี แต่ในยุคโควิด-19 มีข้อจำกัดเรื่อง Social Distancing ทำให้ครูต้องลดเวลาสอนจริงลงและให้นักเรียนเรียนเองมากขึ้น โดยวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพเท่าเดิม
ในยุคโควิด-19 ครูสอนจริงได้เพียง 4-5 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมงต่อภาคเรียน (20 สัปดาห์) ดังนั้นครูจะต้องเตรียมการดังนี้
1. ครูต้องอ่านเนื้อหาสาระที่จะสอนรายวิชาใน 1 ภาคเรียนให้เข้าใจและสังเคราะห์ออกมาเป็นประเด็นหลักหรือ Concept (ความรู้รวบยอด) เพียง 4-5 ประเด็นเพื่อสอนจริง
ตัวอย่างประเด็นหลักหรือ Concept ในวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง “การรวม” คือ การบวก คูณ ยกกำลัง ตัวเลขหลักเดียวและหลายหลัก ครูสามารถสอน “การรวม” ไปพร้อมกันได้ใน 1 ชั่วโมง และวางแผนการสอนจริงในรูปแบบ On Site Online On Air On Demand ในขณะเดียวกันครูต้องจัดทำเอกสารให้นักเรียนอ่านแบบฝึกหัด การบ้าน กิจกรรมต่างๆเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่อง “การรวม”
- ครูวางแผนการสอบถามครบ 20 สัปดาห์ โดยระบุว่าในแต่ละสัปดาห์ครูทำอะไร นักเรียนทำอะไร
- ครูระบุวิธีวัดที่สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 โดยเน้นที่บทบาทนักเรียน เช่น
(1) การเข้าเรียน (ในช่วงครูสอนจริง Online, On Site, On Demand, On Air) ครบถ้วนและตรงเวลา
(2) การส่งงาน การบ้าน แบบฝึกหัด กิจกรรมครบและตรงเวลา
(3) ผลงานมีคุณภาพ สมบูรณ์
(4) อื่น ๆ (ระบุ) - ครูระบุเกณฑ์ประเมินผล(ตัดเกรด)รายวิชาที่สอดกล้องกับการวัด เช่น
เกรด 4 หมายถึง เข้าเรียนตรงเวลา ครบทุกครั้ง ส่งงานครบ ตรงเวลา ผลงานถูกต้อง มีคุณภาพ ฯลฯ
เกรด 3 หมายถึง มีข้อบกพร่อง 20%
เกรด 2 หมายถึง มีข้อบกพร่อง 40%
เกรด 1 หมายถึง มีข้อบกพร่อง 60%
เกรด 0 หมายถึง นอกเหนือจากนี้ - ครูจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง แผนการสอน 20 สัปดาห์รายวิชา แบบฝึกหัด การบ้าน หัวข้อกิจกรรม
โครงงานเดี่ยว/กลุ่ม พร้อมระบุวันเวลาที่ส่งครู และส่งเอกสารดังกล่าวให้นักเรียนล่วงหน้า - ครูจัดทำกำหนดการให้ Feed back ผลการเรียนรายวิชาและผลการวัดผล-ประเมินผลการเรียนรายวิชา แจ้งผู้ปกครองและตัวนักเรียนล่วงหน้า
ครูทำข้อ 1-6 ทุกวิชาที่สอน ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้นักเรียนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเปิดเรียน
และทำการสอนจริง 4-5 ครั้งต่อภาคเรียน ติดตามความก้าวหน้านักเรียนรายบุคคลเป็นระยะ ๆ
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรายภาคเรียน (20 สัปดาห์)
1 วิชา สอน 2 ชั่วโมง รวม 40 ชั่วโมง
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ตลอดภาคเรียน
ตัวอย่างแผนการสอนรายครั้ง (เช่น 2 ชั่วโมงสอนจริง)
รูปแบบ Online
ข้อเสนอแนะ
ในการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ 5 รูปแบบของ กศร. โดยอิงระบบ OLA
กระทรวงศึกษาธิการเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนยุคโควิค-19 ไว้ 5 รูปแบบ คือ
1 On Site เน้นการเรียนที่โรงงานภายใต้การควบคุมของสถานการณ์ โควิค-19
2 On Air เน้นการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3 On Demand เน้นการเรียนการสอนผ่าน Application
4 Online เน้นการเรียนการสอนผ่าน Internet
5 On Hard เน้นการเรียนการสอนจากเอกสาร สื่อ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดที่ครู
นำไปให้ที่บ้าน